20 เมษายน 2024

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุขของบังกลาเทศเร่งหยุดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หลังจากการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ยืนยัน จำนวน 2 ราย บริเวณค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ในเมืองค็อกซ์ บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา การค้นพบผู้ติดเชื้อดังกล่าวส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวภายในค่ายผู้ลี้ภัย ที่มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่เกือบ 860,000 คน ในสภาพที่แออัดและขาดสุขอนามัย

รายงานจากรัฐบาลบังกลาเทศและได้รับการยืนยันจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) ระบุว่า ผู้ป่วยคนหนึ่งมาจากกลุ่มผู้ลี้ภัยในค่าย ส่วนอีกคนหนึ่งมาจากชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้กับค่ายผู้ลี้ภัย โดยโฆษกของ UNHCR กล่าวว่า มีการส่งเจ้าหน้าที่สืบสวนโรคเข้าไปสืบสวนเคสทั้งสอง รวมทั้งดำเนินการแยกตัวผู้ป่วย รักษา และแกะรอยการติดต่อของโรคแล้ว ส่วนมาตรการกักตัวและการรักษาดำเนินการตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก พร้อมทั้งเน้นย้ำว่ามีการวางมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับทั้งเคสผู้ป่วยต้องสงสัยและผู้ป่วยยืนยัน และบุคลากรทางการแพทย์ก็มีอุปกรณ์ป้องกันตัวที่ครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม ข่าวการระบาดของโรค COVID-19 ในค่ายผู้ลี้ภัยที่แออัด ก็สร้างความตื่นตระหนกไม่น้อย อาธีนา เรย์เบิร์น ผู้จัดการอาวุโสของโครงการ Save the Children ในเมืองค็อกซ์ บาซาร์ กล่าวว่า “ขณะนี้ เทปใส
เทปกาว เชื้อไวรัสได้บุกมาถึงค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเมืองค็อกซ์ บาซาร์ และอาจจะมีผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 มากกว่าพันคน และโรคระบาดใหญ่นี้จะทำให้บังกลาเทศถดถอยไปหลายทศวรรษทีเดียว”

นอกจากนี้ เรย์เบิร์นยังระบุด้วยว่า ขณะนี้กำลังพลของบุคลากรทางการแพทย์ภายในค่ายผู้ลี้ภัยมีจำกัด ในขณะที่ระบบสุขภาพทั่วประเทศก็ทำงานอย่างหนักในสถานการณ์ COVID-19 เนื่องจากมีเครื่องช่วยหายใจเพียง 2,000 เครื่องทั่วประเทศ รองรับประชากร 160 ล้านคน และในค่ายผู้ลี้ภัยที่มีประชากรเกือบ 1 ล้านคน ก็ไม่มีแม้แต่เตียงสำหรับผู้ป่วยวิกฤต

ค่ายผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่แห่งนี้ต้องปิดค่ายตามมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลตั้งแต่เดือนเมษายน เพื่อชะลอการระบาดของเชื้อไวรัส และมีการตรวจหาเชื้อภายในค่ายตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ทว่าจนกระทั่งวันที่ 14 พฤษภาคม มีผู้ลี้ภัยได้รับการตรวจหาเชื้อแล้วเพียง 108 คนเท่านั้น

องค์กรช่วยเหลือหลายแห่งเตือนมาเป็นเวลานานแล้วว่า โรค COVID-19 นั้น สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านชุมชนที่มีผู้คนอยู่อย่างแออัดกว่า 40,000 ต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาระยะห่างทางสังคม

มานิช อัครวาล ผู้อำนวยการของคณะกรรมการการช่วยเหลือนานาชาติ สาขาบังกลาเทศ กล่าวว่า อาคารสถานที่ในระบบสุขภาพของบังกลาเทศขณะนี้ทั้งแออัดและเต็มไปด้วยผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ พื้นที่การรักษา และอุปกรณ์การรักษาต่างๆ ก็ไม่เพียงพอ ประชาชนยังต้องใช้น้ำดื่มและระบบสุขอนามัย เช่น ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ และจุดบริการน้ำร่วมกัน ส่งผลให้ต้องต่อคิวยาวและอยู่ในสภาพขาดสุขอนามัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งกว่านั้น สบู่ น้ำสะอาด และพื้นที่ยังไม่เพียงพอให้ประชาชนป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ ตลาดต่างๆ แออัดจนการรักษาระยะห่างทางสังคมกลายเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ทีเดียว

ด้านองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่งก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรค COVID-19 โดยจอห์น ควินลีย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสิทธิมนุษยชน จาก Fortify Rights กล่าวว่า เนื่องจาก COVID-19 ระบาดอย่างรวดเร็ว รัฐบาลบังกลาเทศจำเป็นต้องร่วมมือกับองค์กรด้านมนุษยธรรมจากประเทศต่างๆ ในการให้การดูแลด้านสุขภาพของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอย่างเร่งด่วน รวมทั้งเรียกร้องให้ยกเลิกการแบนอินเตอร์เน็ต และสื่อสารข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสให้ผู้ลี้ภัยในค่ายได้รับทราบ

“ชาวโรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยที่ค็อกซ์ บาซาร์ มีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงของโรค COVID-19 การจำกัดการสื่อสารในค่ายถือเป็นนโยบายที่อันตรายมาก” ควินลีย์กล่าว

Related News